บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วัดนางชี..กับเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี


วัดนางชี ที่ชาวบ้านชอบเรียกขานโดยทั่วกันนั้นมีชื่อพระราชทานว่า วัดนางชีโชติการาม สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อ พ.ศ. 2078 ตรงกับรัชสมัยพระชัยราชาธิราช สร้างแล้วเสร็จประมาณ พ.ศ. 2081-2082  เป็นวัดริมน้ำสงบร่มรื่นขณะนี้พระอุโบสถกำลังบูรณะอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ  และภายในวัดก็ชำรุดทรุดโทรไปตามกาลเวลา

การเดินทางไม่ยากค่ะ นั่รถประจำทาง สาย 4หรือสาย 9 มาลงป้ายที่ลงจากสะพานวัดนางชีแล้วเดินเข้าได้ 2 ทาง คือ 1 .จากซอยวัดนางชีเองเป็นซอยเล็กๆรถสวนกันลำบาก หรือ2. เดินทะลุมาจากวัดนาคปรกจะสะดวกกว่า

ตามประวัติความเป็นมาของวัดสืบเนื่องมาจากลูกสาว เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีชื่อแม่อิ่ม ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุจนกระทั่ง มีชีปะขาวมานิมิตเข้าฝันด้วยการให้ลูกสาวทำการบวชชี เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีจึงได้ให้แม่อิ่มลูกสาวท่านบวชชีพร้อมสร้างวัด ซึ่งประกอบด้วยโบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระปรางค์และศาลาการเปรียญ ครบครันขึ้นเป็นวัดอย่างสมบูรณ์แต่ปัจจุบันไม่มีซากหลงเหลืออยู่จะมี ก็แต่องค์พระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธรูปปางต่างๆ ในโบสถ์ เจดีย์คู่วัด และพระปรางค์ คณะผู้สร้างวัดนางชีประกอบด้วยผู้ร่วมทำ การสร้าง 3 ท่าน คือ เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรี พระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสมุทร และวัดนี้ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเสนอมาจนกระทั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้าง เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลายรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระรูปสิริโสภาคย์มหานาคนารีเป็นพระสัสสุใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิขรณ์จึงให้ชื่อว่า วัดนางชี เพื่อเป็นการอนุสรณ์ในการบวชชีของพระองค์

ท่านพระยาโชฎึกราชเศรษฐีได้มีจิตศรัทธาร่วมพระองค์ ท่านพระยาโชฎึกราชเศรษฐีได้มีจิตศรัทธาร่วมบูรณะปฎิสังขรณ์ด้วยโดย ทำเป็นศิลปะแบบจีนประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบประดับมุก ลับแล หรือฉากบังเตียงแกะฉลุลายไทย ฝีมือจีน ฯลฯ ถวายให้เป็นสมบัติของวัดนางชี  ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาราชานุชิตได้บูรณะ วัดซึ่งกำลังทรุดโทรมขึ้มมาใหม่ทั้งวัด อาราม เช่นพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะต่างๆ ให้รื้อของเก่าแล้วสร้างใหม่โดยเฉพาะ หลังคา พระอุโบสถสร้างตามแบบที่นิยมกันตามแบบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว คือไม่มีช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์

 สิ่งสำคัญภายในวัดนางชี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงทำการค้ากับจีน ทรงสั่งทำเครื่องเคลือบรูปเรือสำเภา อันเป็นเครื่องหมายการค้าให้อนุชนได้ศึกษา โดยทรงได้พระราชทาน วัดนางชี 1 คู่ พระประดับหน้าบันพระวิหารที่สร้างตามศิลปะแบบจีน นอกจากนี้ได้พระราชทานเสาหินเทียบเรือพระที่นั่งซึ่งทรงสั่งมาจาก ประเทศจีนให้แก่วัดนางชี บัดนี้ทางวัดได้นำมาขึ้นเสาป้ายหน้าวัด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งปรากฎในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันว่าเมื่อ พ.ศ.2422 พระปิยมหาราชเจ้า ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มาวัดนางชีเพื่อพระราชทานพระกฐิน

วัดนางชีเป็นวัดที่คนมาทำบุญน้อยทั้งที่เป็นวันที่สร้างมานานและเป็นวัดเดียวที่ยังมี ประเพณี"ชักพระวัดนางชี" ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี" ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวฝั่งธนบุรี ได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่าร้อยปีแล้วล่ะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น